Project

Sustainable Developmentat CROSSROADS MALDIVES

เกี่ยวกับโครงการ

 

ประเทศมัลดีฟส์ เป็นประเทศหมู่เกาะกลางมหาสมุทรอินเดีย เกิดขึ้นจากปะการังที่ก่อตัวขึ้นบนปล่องภูเขาไฟใต้ทะเลในอดีต โดยมีทั้งหมด 20 Atolls กว่า 1,190 เกาะ ระยะทางจากเหนือจรดใต้กว่า 648 กิโลเมตร มีเกาะที่เป็นเมืองหลวงคือ “มาเล่” เป็นเกาะอยู่ใน Kaafu atoll ประชากรทั้งหมดของประเทศมัลดีฟส์ทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม

จากข้อมูลสถิติโครงสร้างทางสังคมและประชากร ของประเทศมัลดีฟส์ (ข้อมูลปี 2014) พบว่า มัลดีฟส์มีประชากร 338,434 คน โดยเฉพาะในเมือหลวงมาเล่ มีประชากรชาวมัลดิเวียน จำนวน 129,381 คน ในพื้นที่ 6.8 ตารางกิโลเมตร ทำให้เป็นเมืองหลวงที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

เมื่อบริษัท เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท จำกัด (มหาชน ) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) ได้เข้ามาดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม ภายใต้โครงการ CROSSROADS ที่ประกอบด้วยเกาะสร้างใหม่ 9 เกาะ ครอบคลุมระยะทางรวม 7 กิโลเมตร ตั้งอยู่ไม่ไกลจากสนามบินนานาชาติและเมืองหลวงมาเล่ โดยมีความความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาระบบนิเวศของมัลดีฟส์ ดูแลคุณภาพชีวิตของชุมชนท้องถิ่น และการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลและยั่งยืน

การดูแลสังคม และชุมชน

 

สิ่งที่ทำ

โครงการ CROSSROADS ได้สร้าง Maldives Discovery Centre เพื่อเป็นศูนย์แสดงศิลปะ วัฒนธรรม ความเป็นมา เอกลักษณ์ของประเทศ และชาวมัลดีฟส์ เพื่อช่วยโปรโมตผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น 13 ผลิตภัณฑ์ จาก 7 เกาะทั่วประเทศ โดยปัจจุบันมีผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมศูนย์นี้กว่า 13,686 คน (ข้อมูลเดือน ก.พ. 2563) อีกทั้งยังได้สนับสนุนงานแสดงผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นระดับชาติ Fannu Expo 2019 ที่มีผู้ร่วมแสดงสินค้ากว่า 350 ร้าน และกว่า 30,000 ผลิตภัณฑ์จากเกาะทั่วประเทศมัลดีฟส์

ด้วยโครงสร้างกลุ่มประชากรของประเทศมัลดีฟส์ พบว่าเพศหญิงมีอัตราส่วนใกล้เคียงกับเพศชาย โดยมีประชากรเพศหญิงจำนวนทั้งหมด 166,472 คน เฉพาะในเมืองหลวงมาเล่ มีประชากรเพศหญิง 64,938 คน ประกอบกับวัฒนธรรมมุสลิม และลักษณะภูมิประเทศมีความลำบากในการเดินทางระหว่างเกาะ ทำให้โอกาสในการทำงานของผู้หญิงมีไม่มากนักเนื่องจากต้องดูแลครอบครัว ไม่สามารถพักค้างคืนที่เกาะอื่นได้

ดังนั้นด้วยความได้เปรียบของสถานที่ โครงการ CROSSROADS อยู่ใกล้เมืองหลวงมาเล่ เดินทางเพียง 15 นาที สามารถเดินทางกลับบ้านได้ง่าย จึงทำให้มีนโยบายเปิดโอกาสให้ผู้หญิงสามารถทำงาน โดยมีการจ้างพนักงานที่เป็นผู้หญิงถึง 18.18% (142 คนจากพนักงานทั้งหมด 781 คน) นอกจากนี้พนักงานทั้งหมดที่โครงการ CROSSROADS เป็นชาวมัลดิเวียนถึง 60.18% (470 คน)

เมื่อโฟกัสที่กลุ่มประชากรเด็ก (อายุต่ำกว่า 15 ปี) พบว่ามีจำนวน 93,478 คน เฉพาะในมาเล่ มีเด็ก 30,646 คน ด้วยการจำกัดของพื้นที่เกาะ ทำให้เด็ก ๆ มัลดีฟส์ส่วนใหญ่ ไม่มีโอกาสในการฝึกหัดกีฬาว่ายน้ำ โครงการ CROSSROADS จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสอนเด็ก ๆ ว่ายน้ำและฝึกหัดดำน้ำสน็อกเกิ้ล ที่เกาะ Gulhi และ Villingili ปัจจุบันสอนเด็ก ๆ ไปแล้วทั้งสิ้น 60 คน

การดูแลสิ่งแวดล้อม

 

สิ่งที่ทำ

ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศมัลดีฟส์ ที่มีความสำคัญที่สุดคือแนวปะการังและน้ำทะเล โดยเป็นทั้งพื้นที่อยู่อาศัยแหล่งอาหาร และมีความสำคัญอย่างมากต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ดังนั้นทางโครงการฯ จึงมีนโยบายในการรักษาระบบนิเวศทางทะเลอย่างเข้มแข็ง

ก่อนการสร้างโครงการ CROSSROADS ได้ดำเนินการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของแนวปะการังในพื้นที่ พบว่ามีประชากรปลาในแนวปะการังไม่ต่ำกว่า 100 ชนิด นอกจากนี้ยังพบเต่ากระ ซึ่งถูกจัดอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically Endanger) ในบัญชีของ IUCN RED LIST จึงนำมาสู่การปรับเปลี่ยนแผนการสร้างเกาะ เพื่ออนุรักษ์แนวปะการัง ซึ่งเปรียบเสมือนบ้าน และได้ตั้งชื่อเต่าตัวนี้ว่า EMMA

การสร้างสิ่งปลูกสร้างลงในทะเล เช่น water villa ได้ดำเนินการถูกต้อง ผ่านตาม EIA และสร้างห่างจากแนวปะการังอย่างน้อยที่สุด 100 เมตร เพื่อเป็นการลดผลกระทบที่มีต่อธรรมชาติให้มีผลน้อยที่สุด เพื่อรักษาความสวยงามของทะเลให้คงเดิม

นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับ หน่วยงานรัฐ องค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร (NGO) ระดับนานาชาติ และชุมชนท้องถิ่น ในการร่วมฟื้นฟูแนวปะการังซึ่งเป็นปัญหา โดยใช้วิธี Coral propagation ที่ได้รับความร่วมมือจาก Ocean Quest Global และ Sea Shepherd Dive ในการสอนการปลูกปะการังโดยวิธีใช้ธรรมชาติเชื่อมต่อกับธรรมชาติ ถ่ายทอดให้กับเด็ก ๆ ในชุมชนท้องถิ่น นักท่องเที่ยว และลูกค้าของโรงแรม ภายใต้การดำเนินการของศูนย์ Marine Discovery Centre ที่มีนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลประจำศูนย์ โดยได้ทำการสอนเด็ก ๆ กว่า 70 คน ต่อเดือน และมีผู้เข้าเยี่ยมชนศูนย์นี้กว่า 2,933 คนจาก 67 ประเทศ (ก.พ. 2563)

เมื่อโครงการดำเนินการ ได้มีการกำหนดนโยบายในการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล ดูแลรักษาพื้นที่ปะการังกว่า 64,000 ตารางเมตร ภายในโครงการ และมีรายงานการพบสัตว์ที่ขึ้นบัญชี IUCN REDLIST เป็นสิ่งมีชีวิตขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ (CRITICALLY ENDANGER) เช่น ปลาฉลามหัวค้อน และ ปลาโรนัน

การดำเนินการที่ ครอสโร้ดส์ มัลดีฟส์

 

เมื่อโครงการได้เริ่มดำเนินการ ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2562 การควบคุมและดูแลเรื่องการใช้น้ำ และการจัดการขยะถือเป็นสิ่งสำคัญ ทางโครงการได้มีการวางระบบการนำน้ำทะเลมาใช้ และบำบัดน้ำ STP (Sewage treatment Plant) ซึ่งสามารถรองรับการบำบัดน้ำเสียได้ 400 ลูกบาศก์เมตร ต่อวัน และนำกลับมาใช้รดน้ำต้นไม้ทั้งหมดในโครงการ

นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นในการจัดการขยะที่เกิดขึ้นบนโครงการให้มีประสิทธิภาพโดยการสร้างศูนย์บริหารจัดการขยะ Waste to Wealth Centre เพื่อจัดการออกนโยบาย ลด คัดแยก นำกลับมาใช้ใหม่ ตั้งเป้าขยะพลาสติกภายในโครงการให้เป็นศูนย์ และบริหารเส้นทางของขยะให้มีประสิทธิภาพ Reuse 5 % Reduce ได้ 6 % และ Recycle 89%

ในส่วนของการ Recycle ได้มีการร่วมมือกันกับ Parley Maldives ที่เป็นแพล็ตฟอร์ม ที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการช่วยลดการใช้ การทิ้งขยะพลาสติกลงทะเล และการนำขยะพลาสติกไปรีไซเคิล โดยทางโครงการได้ส่งพลาสติกที่สามารถรีไซเคิลได้ จำนวน 250 กิโลกรัม (ก.พ. 2563)

ในด้านการตั้งเป้าการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทางโครงการ CROSSROADS ตั้งเป้าที่จะลดให้ได้ถึง 25% ภายใน ปี ค.ศ.2025 โดยได้มีการจัดทำการประเมินการปล่อยก๊าซคาร์บอนและวางแผนการลดการสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในโครงการ ร่วมกับมาตรฐาน Green Globe ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับนานาชาติ

วิดีโอสรุปเกี่ยวกับกิจกรรม

 

สถานที่

 

CROSSROADS MALDIVES
ศูนย์การเรียนรู้ทางทะเล

STAY ON BOARD

Be the first to hear about the latest news, activity, and the sea community.